เมนู

มีผิวพรรณอย่างนี้ มีอาหารอย่างนี้ เสวยสุขทุกข์อย่างนี้ มีกำหนดอายุอย่างนี้
ครั้นจุติจากภพนั้นมาเกิดในภพนี้ เธอระลึกชาติก่อนได้หลายอย่างพร้อม
ทั้งอาการ อุเทศด้วยประการฉะนี้.
เธอเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ อุปบัติ เลว ประณีต ผิวพรรณดี
ผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุบริสุทธิ์ล่วงจักษุมนุษย์ ย่อมรู้
ถึงหมู่สัตว์ไปตามกรรมว่า สัตว์ผู้เจริญเหล่านี้ ประกอบด้วยกายทุจริต
วจีทุจริต มโนทุจริต ติเตียนพระอริยะเจ้า เป็นมิจฉาทิฏฐิ ถือกรรม
เป็นมิจฉาทิฏฐิ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เขาเข้าถึงอบาย ทุคติ
วินิบาต นรก หรือ สัตว์ผู้เจริญเหล่านี้ ประกอบด้วยกายสุจริต วจีสุจริต
มโนสุจริต ไม่ติเตียน พระอริยะเจ้าแล้ว เป็นสัมมาทิฏฐิ ถือกรรมเป็น
สัมมาทิฏฐิ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เขา เข้าถึง สุคติ โลกสวรรค์
เธอเห็นหมู่สัตว์ ที่กำลังจุติ อุปบัติ เลว ประณีต ผิวพรรณดี
ผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุบริสุทธิ์ ล่วงจักษุมนุษย์
ย่อมรู้ถึงหมู่สัตว์ ไปตามกรรมด้วยประการฉะนี้.
เธอกระทำให้แจ้ง เจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะ
อาสวะสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในทิฏฐธรรม เข้าอยู่. ธรรม 6 อย่าง
เหล่านี้ ควรทำให้แจ้ง. ธรรม 60 เหล่านี้ จริง แท้ แน่นอน.ไม่ผิดพลาดไม่
เป็นอย่างอื่น พระตถาคตตรัสรู้แล้ว โดยชอบด้วยประการฉะนี้.

ว่าด้วยธรรมหมวด 7



[ 432 ] ธรรม 7 อย่าง มีอุปการะมาก ธรรม 7 อย่างควรเจริญ
ธรรม 7 อย่างควรกำหนดรู้ ธรรม 7 อย่างควรละ ธรรม 7 อย่าง
เป็นไปในส่วนข้างเสื่อม ธรรม 7 อย่างเป็นไปในส่วนพิเศษ ธรรม 7

อย่างแทงตลอดได้ยาก ธรรม 7 อย่างควรให้เกิดขึ้น ธรรม 7 อย่าง
ควรรู้ยิ่ง ธรรม 7 อย่างควรทำให้แจ้ง.
[433] ธรรม 7 อย่าง มีอุปการะมากเป็นไฉน. คือ อริยทรัพย์
7 ได้แก่ สัทธา สีล หิริ โอตตัปปะ สุตะ จาคะ ปัญญา ธรรม 7 อย่าง
เหล่านี้ มีอุปการะมาก.
[434] ธรรม 7 อย่าง ควรเจริญเป็นไฉน. ได้แก่ สัมโพชฌงศ์
7 คือ สติ ธัมมวิจยะ วิริยะ ปีติ ปัสสัทธิ สมาธิ อุเบกขา. ธรรม 7
อย่างเหล่านี้ ควรเจริญ.
[435] ธรรม 7 อย่าง ควรกำหนดรู้เป็นไฉน. ได้แก่ วิญญาณ-
ฐิติ 7 คือ ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายมีกายต่างกัน มีสัญญา
ต่างกัน เหมือนมนุษย์ เทพบางพวก วินิปาติกะบางพวก นี้ก็เป็นวิญญาณฐิติ
ข้อที่หนึ่ง. สัตว์ทั้งหลายมีกายต่างกัน มีสัญญาอย่างเดียวกันเหมือนเทพ
ผู้นับเนื่องในพรหม ผู้เกิดในปฐมฌาน นี้ก็เป็นวิญญาณฐิติ ข้อที่สอง.
สัตว์ทั้งหลาย มีกายอย่างเดียวกัน มีสัญญาต่างกัน เหมือนพวกเทพอาภัสสรา
นี้ ก็เป็นวิญญาณฐิติข้อที่สาม. สัตว์ทั้งหลาย มีกายอย่างเดียวกัน มีสัญญา
อย่างเดียวกัน เหมือนพวกเทพสุภกิณหา นี้ก็เป็นวิญญาณฐิติ ข้อที่สี่.
สัตว์ทั้งหลาย ล่วงรูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญาได้ ไม่กระทำไว้ในใจซึ่งสัญญา
ต่างกัน โดยประการทั้งปวง เข้าถึงอากาสานัญจายตนะว่า อากาศไม่มีที่สุด
นี้ก็เป็นวิญญาณฐิติ ข้อที่ห้า. สัตว์ทั้งหลาย ล่วงอากาสานัญจายตนะ
โดยประการทั้งปวง เข้าถึงวิญญาณัญจายตนะว่า วิญญาณไม่มีที่สุด นี้
ก็เป็นวิญญาณฐิติ ข้อที่หก. สัตว์ทั้งหลาย ล่วงวิญญาณัญจายตนะ โดย

ประการทั้งปวง เข้าถึงอากิญจัญญายตนะว่า ไม่มีอะไร นี้ก็เป็นวิญญาณ
ฐิติ ข้อที่เจ็ด. ธรรม 7 อย่างเหล่านี้ ควรกำหนดรู้.
[436] ธรรม 7 อย่าง ควรละเป็นไฉน. ได้แก่ อนุสัย 7 คือ
กามราคะ ปฏิฆะ ทิฏฐิ วิจิกิจฉา มานะ ภวราคะ อวิชชา. ธรรม
7 อย่างเหล่านี้ ควรละ.
[437] ธรรม 7 อย่าง เป็นไปในส่วนข้างเสื่อมเป็นไฉน. ได้แก่
อสัทธรรม 7 คือ ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไม่มีศรัทธา
ไม่ละอาย ไม่เกรงกลัว สดับน้อย เกียจคร้าน ลืมสติ ปัญญาทึบ. ธรรม
7 อย่างเหล่านี้ เป็นไปในส่วนข้างเสื่อม.
[438] ธรรม 7 อย่าง เป็นไปในส่วนวิเศษเป็นไฉน. ได้แก่
สัทธรรม 7 คือ ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ มีศรัทธา
มีความละอาย มีความเกรงกลัว เป็นผู้สดับมาก ปรารภความเพียร มีสติ
ตั้งมั่น มีปัญญา ธรรม 7 อย่างเหล่านี้ เป็นไปในส่วนวิเศษ.
[439] ธรรม 7 อย่าง แทงตลอดได้ยากเป็นไฉน. ได้แก่
สัปปุริสธรรม 7 คือ ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็น
ผู้รู้จักเหตุ เป็นผู้รู้จักผล เป็นผู้รู้จักตน เป็นผู้รู้จักประมาณ เป็นผู้รู้จัก
กาลเวลา เป็นผู้รู้จักประชุมชน เป็นผู้รู้จักเลือกบุคคล. ธรรม 7 อย่าง
เหล่านี้ แทงตลอดได้ยาก.
[440] ธรรม 7 อย่าง ควรให้เกิดขึ้นเป็นไฉน. ได้แก่ สัญญา 7
คือ อนิจจสัญญา อนัตตสัญญา อสุภสัญญา. อาทีนวสัญญา ปหานสัญญา
วิราคสัญญา นิโรธสัญญา. ธรรม 7 อย่างเหล่านี้ ควรให้เกิดขึ้น.

[441] ธรรม 7 อย่าง ควรรู้ยิ่งเป็นไฉน. ได้แก่ นิทเทสวัตถุ 7
คือ ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ มีฉันทะกล้าในการสมาทาน
สิกขา และไม่ปราศจากความรักในการสมาทานสิกขาต่อไป มีฉันทะกล้า
ในการพิจารณาธรรมและไม่ปราศจากความรัก ในการพิจารณาธรรมต่อไป
มีฉันทะกล้า ในการกำจัดความอยาก และไม่ปราศจากความรักในการกำจัด
ความอยากต่อไป มีฉันทะกล้าในการหลีกออกเร้น และไม่ปราศจากความรัก
ในการหลีกออกเร้นต่อไป มีฉันทะกล้า ในการปรารภความเพียร และไม่
ปราศจากความรักในการปรารภความเพียรต่อไป มีฉันทะกล้า ในสติและ
ปัญญาเครื่องรักษาตน และไม่ปราศจากความรัก ในสติและปัญญาเครื่อง
รักษาตนต่อไป มีฉันทะกล้าในการแทงตลอดทิฏฐิ และไม่ปราศจากความรัก
ในการแทงตลอดทิฏฐิต่อไป. ธรรม 7 อย่างเหล่านี้ ควรรู้ยิ่ง.
[442] ธรรม 7 อย่าง ควรทำให้แจ้งเป็นไฉน. ได้แก่ กำลัง
ของพระขีณาสพ 7 คือ ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุขีณาสพในธรรม-
วินัยนี้ เห็นสังขารทั้งปวง โดยความเป็นของไม่เที่ยง ด้วยปัญญาอันชอบ
ตามความเป็นจริงดีแล้ว ข้อที่ภิกษุขีณาสพ เห็นสังขารทั้งปวงโดยความเป็น
ของไม่เที่ยง ด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงดีแล้ว นี้ก็เป็นกำลังของ
ภิกษุผู้ขีณาสพ กำลังที่ภิกษุขีณาสพอาศัย ย่อมรู้ความสิ้นไปแห่งอาสวะ
ทั้งหลายว่า อาสวะของเราสิ้นแล้ว.
ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุผู้เป็นขีณาสพ เห็นกามเปรียบด้วยหลุมถ่าน
เพลิง ด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงดีแล้ว ข้อที่ภิกษุขีณาสพ เห็น
กามเปรียบด้วยหลุมถ่านเพลิง ด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงดีแล้ว
นี้ก็เป็นกำลังของภิกษุขีณาสพ กำลังที่ภิกษุขีณาสพอาศัย ย่อมรู้ความสิ้นไป

แห่งอาสวะทั้งหลายว่า อาสวะของเราสิ้นแล้ว.
ข้ออื่นยังมีอยู่อีก จิตของภิกษุขีณาสพ น้อมไปในวิเวก โอนไป
ในวิเวก เงื้อมไปในวิเวก ตั้งอยู่ในวิเวก ยินดีในเนกขัมมะ สิ้นสุดจาก
ธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งอาสวะ โดยประการทั้งปวง ข้อที่จิตของภิกษุขีณาสพ
น้อมไปในวิเวก โอนไปในวิเวก เงื้อมไปในวิเวก อยู่ในวิเวก ยินดี
ในเนกขัมมะ สิ้นสุดจากธรรมเป็นที่ตั้งแห่งอาสวะ โดยประการทั้งปวง
แม้นี้ก็เป็นกำลังของภิกษุขีณาสพ กำลังที่ภิกษุขีณาสพอาศัย ย่อมรู้ความ
สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายว่า อาสวะของเราสิ้นแล้ว.
ข้ออื่นยังมีอยู่อีก สติปัฏฐาน 4 อันภิกษุขีณาสพ อบรมแล้ว อบรม
ดีแล้ว ข้อที่สติปัฏฐาน 4 อันภิกษุขีณาสพ อบรมแล้ว อบรมดีแล้ว
แม้นี้ก็เป็นกำลังของภิกษุขีณาสพ กำลังที่ภิกษุขีณาสพอาศัย ย่อมรู้ความ
สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายว่า อาสวะของเราสิ้นแล้ว.
ข้ออื่นยังมีอยู่อีก อินทรีย์ 5 อันภิกษุขีณาสพ อบรมแล้ว อบรม
ดีแล้ว ข้อที่อินทรีย์ 5 อันภิกษุขีณาสพ อบรมแล้ว อบรมดีแล้ว แม้นี้
ก็เป็นกำลังของภิกษุขีณาสพ กำลังที่ภิกษุขีณาสพอาศัย ย่อมรู้ความสิ้นไป
แห่งอาสวะทั้งหลายว่า อาสวะของเราสิ้นแล้ว.
ข้ออื่นยังมีอยู่อีก โพชฌงค์ 7 อันภิกษุขีณาสพ อบรมแล้ว อบรม
ดีแล้ว ข้อที่โพชฌงค์ 7 อันภิกษุขีณาสพ อบรมแล้ว อบรมดีแล้ว แม้นี้
ก็เป็นกำลังของภิกษุขีณาสพ กำลังที่ภิกษุขีณาสพอาศัย ย่อมรู้ความสิ้นไป
แห่งอาสวะทั้งหลายว่า อาสวะของเราสิ้นแล้ว.
ข้ออื่นยังมีอยู่อีก อริยมรรคมีองค์ 8 อันภิกษุขีณาสพ อบรมแล้ว
อบรมดีแล้ว ข้อที่ อริยมรรคมีองค์ 8 อันภิกษุขีณาสพ อบรมแล้ว อบรมดี

แล้ว แม้นี้ ก็เป็นกำลังของภิกษุขีณาสพ กำลังที่ภิกษุขีณาสพอาศัย ย่อม
รู้ความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายว่า อาสวะของเราสิ้นแล้ว. ธรรม 7 อย่าง
เหล่านี้ ควรทำให้แจ้ง ธรรม 7 อย่างเหล่านี้ จริง แท้ แน่นอน ไม่ผิด
ไม่เป็นอย่างอื่น พระตถาคตตรัสรู้แล้ว โดยชอบ ด้วยประการฉะนี้.
จบปฐมภาณวาร.

ว่าด้วยธรรมหมวด 8



[443] ธรรม 8 อย่างมีอุปการะมาก ธรรม 8 อย่าง ควรเจริญ
ธรรม 8 อย่าง ควรกำหนดรู้ ธรรม 8 อย่าง ควรละ ธรรม 8 อย่าง
เป็นไปในส่วนข้างเสื่อม ธรรม 8 อย่างเป็นไปในส่วนวิเศษ ธรรม 8 อย่าง
ควรให้เกิดขึ้น ธรรม 8 อย่าง ควรรู้ยิ่ง ธรรม 8 อย่าง ควรทำให้แจ้ง.
[444] ธรรม 8 อย่าง มีอุปการะมากเป็นไฉน. ได้แก่ เหตุ
8 อย่าง ปัจจัย 8 อย่าง ย่อมเป็นไปเพื่อได้ปัญญาเป็นอาทิพรหมจรรย์
ที่ยังไม่ได้ เพื่อความเจริญยิ่ง เพื่อความไพบูลย์ เพื่อความเจริญ เพื่อความ
บริบูรณ์ แห่งปัญญาที่ได้แล้ว เหตุและปัจจัย 8 อย่าง เป็นไฉน คือ
ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เข้าไปอาศัยพระศาสดา หรือ
เพื่อนพรหมจรรย์ อยู่ในฐานะควรเคารพรูปใดรูปหนึ่ง หิริและโอตตัปปะ
แรงกล้า เข้าไปปรากฏแก่ภิกษุนั้น เป็นความรักและความเคารพในท่าน นี้
ก็เป็นเหตุเป็นปัจจัยข้อที่หนึ่ง ย่อมเป็นไป เพื่อได้ปัญญาอาทิพรหมจรรย์
ที่ยังไม่ได้ เพื่อความเจริญยิ่ง เพื่อความไพบูลย์ เพื่อความเจริญ เพื่อความ
บริบูรณ์ แห่งปัญญาที่ได้แล้ว.